วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

แหล่งท่องเที่ยวปางอุ๋ง

ป า ง อุ๋ ง

ระเบียบการเข้าชม หรือ พักค้างแรม ที่ปางอุ๋ง


ข่าวประชาสัมพันธ์ ททท.

กำหนด ระเบียบการเข้าชมหรือพักค้าแรม ที่ปางอุ๋ง (โครงการจัดหมู่บ้านรวมไทย ตามพระราชดำริ) จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2551

โครงการพระราชดำริปางตอง 2 (ปางอุ๋ง) อยู่ที่ บ้านรวมไทย ตำบลหมอกจำแป่ ห่างจากตัวเมืองแม่ฮ่องสอนประมาณ 44 กำโลเมตร โดยใช้เส้นทางน้ำตกผาเสื่อ พระตำหนักปางตอง บ้านแม้วนาป่าแปก และเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 7 กำโลเมตร นักท่องเที่ยว สามารถเที่ยวชมวิถีชีวิตชาวเขาหลากเผ่า ชิมกาแฟสดจากสวน ชมธรรมชาติและทัศนียภาพของป่าสนสองใบสนสามใบล้อมรอบอ่างเก็บน้ำอันกว้างใหญ่ ซึ่งโอบล้อมด้วยขุนเขาที่เขียวชอุ่ม "อุ๋ง" หมายถึงที่ลุ่มต่ำคล้ายกะทะใบใหญ่ มีน้ำขังเฉอะแฉะ เดิมบริเวณนี้เป็นสถานที่ทำไร่ฝิ่นของชาวเขา ปัจจุบันปลูกพรรณพืชดอกไม้เมืองหนาวหลากสีสัน โดยรอบและสมุนไพรที่เป็นประโยชน์ในด้านอาหารและแพทย์แผนไทย ซึ่งมีความกลมกลืนกับสภาพภูมิประเทสบนที่สูงและอากาศเย็น พร้อมบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์ประจำถิ่นซึ่งกำลังจะสูญพันธ์อย่างเขียดแล้ว เป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบธรรมชาติและความสงบเงียบ

นักท่องเที่ยวสามารถติต่อเพื่อขออนุญาติขึ้นไปชมและที่พักได้ที่ ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีสำนักงานตั้งอยู่ในตัวเมืองแม่ฮ่องสอน โทร. 053-611-244 และเพื่อให้ผู้ที่ขึ้นไปชมสถานที่แห่งนี้ได้รับความประทับใจและเกิดผลกระทบ กับแหล่งท่องเที่ยวน้อยที่สุด จึงได้มีการกำหนดวิธีการขึ้นไปชมด้วยการรับคูปองการเข้าชมได้ที่ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในพระบรมราชินูปถัมภ์ ถนนขุนลุมประพาส ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เริ่มเดือนตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

คุณธรรมพื้ฐาน8ประการ

๑) ขยัน

ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ความขยันต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จ

ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรเป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง





๒) ประหยัด

ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ

ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ




๓) ความซื่อสัตย์

ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ

ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง



๔) มีวินัย

มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม

ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฏ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ



๕) สุภาพ

สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ

ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย



๖) สะอาด

สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น

ผู้ที่ความสะอาด คือ ผุ้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว จึงมีความแจ่มใสอยู๋เสมอ


๗) สามัคคี

สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุ ผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์

ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ


๘) มีน้ำใจ

มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน

ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผุ้อาสาช่วยเหลือสังคสม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความที่2เรื่องขนมไทย

บัวลอยน้ำฟักทอง



ส่วนผสม

ฟักทองนึ่งสุก1 ถ้วย
น้ำสุก1 1/2 ถ้วย
น้ำกะทิ1/2 ถ้วย
น้ำตาลทราย1/2 ถ้วย
แป้งข้าวเหนียว1 ถ้วย
น้ำอุ่นจัด1/2 - 3/4 ถ้วย
งาขาว-ดำ คั่วสุกสำหรับโรยหน้า

วิธีทำ
1. แป้งข้าวเหนียวผสมน้ำอุ่น นวดให้เข้ากันแล้วปั้นเป็นก้อนกลม
2. ลวกบัวลอยให้สุก และแช่ในน้ำเย็นจัด พักไว้
3. ปั่นฟักทอง น้ำสุกและกะทิให้เป็นเนื้อเดียวกัน (ถ้าข้นไปเติมน้ำได้ตามต้องการ)
4. อุ่นน้ำฟักทองให้ร้อน เติมน้ำตาลคนให้ละลาย
5. ตักน้ำฟักทองใส่ถ้วย เติมบัวลอยที่เตรียมไว้ โรยหน้าด้วยงาคั่ว รับประทานขณะร้อน

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความที่1

วันนี้ข้าพเจ้านางสาวมนรัก ศรีอุดรได้ศึกษาวิธีกรสร้างบ็อก